วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning log 7 (ในห้องเรียน)

Learning log 7
(ในห้องเรียน)
                การศึกษาในชั้นเรียนในครั้งนี้ดิฉันได้ศึกษาเกี่ยวกับ Conditional Sentence หรือที่หลายคนรู้จักกันในนาม if-clause ซึ่งได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของ if-clause และการนำไปใช้ของ if-clause ที่จะต้องมีการศึกษาเรื่องนี้เพราะคนไทยส่วนใหญ่ยังมีความรู้ ความเข้าใจ และยังมีความสับสนเกี่ยวกับเรื่อง if-clauseเป็นอย่างมาก จึงส่งผลทำให้ไม่สามารถที่จะสร้างประโยคเงื่อนไขหรือ if-clauseได้ หรืออาจจะสร้างได้แต่ไม่มีความถูกต้องและไม่มีความสละสลวย ถ้าหากเรามีความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง if-clauseแล้วนั้นจะทำให้เราสามารถสร้างประโยคได้อย่างถูกต้องและสละสลวยได้ เพื่อที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือนำไปใช้ในการเรียนหรือการทำงานได้
            สิ่งที่จำเป็นจะต้องรู้และให้มีความชำนาญเกี่ยวกับ if-clauseนั้นคือประเภทของมัน แต่ก่อนที่เราจะดูประเภทของมัน เราต้องรู้ก่อนว่า if-clauseคืออะไร if-clauseคือประโยคเงื่อนไขหรือการสมมุติ ซึ่งประกอบไปด้วย2ประโยค คือmain clause และ if-clause ซึ่ง if-clauseจะไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตนเองจะต้องพึ่ง main clauseประโยคจึงจะมีใจความที่สมบูรณ์ เช่น If it rains, I will stay at home. If it rainsเป็น if-clause และ I will stay at homeเป็น main clause ทั้ง if-clauseและ main clauseสามารถเขียนสลับที่กันได้ หากวาง main clauseไว้หน้าif-clauseห้ามเราใส่เครื่องหมายcommaคั่นกลางประโยค

            หลังจากที่ได้ทราบความหมายของif-clauseแล้วนั้น ก็ถึงเวลาที่ต้องศึกษาเกี่ยวกับประเภทของมัน if-clauseสามารถแบ่งออกเป็น3ประเภท ประเภทแรกคือเป็นการสมมุติถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันหรืออนาคต แสดงเงื่อนไขที่น่าจะเป็นไปได้หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Present Real ซึ่งจะมีโครงสร้างดังนี้ If + Present Tense Verb, will/may/can + V.1 เช่น If he goes to London, he will meet his old friend.ถ้าเขาไปลอนดอนเขาจะพบกับเพื่อนเก่าเขา If you see Christian Grey tonight, tell him I’m waiting.ถ้าคุณพบคริสเตียน เกรย์ คืนนี้ คุณบอกกับเขาว่าฉันกำลังรออยู่
                ประเภทต่อไปของ if-clauseนั้นคือใช้กับเหตุการณ์ที่ตรงข้ามกับความจริงในปัจจุบันหรืออนาคต หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Present Unreal ซึ่งมีโครงสร้างดังนี้ If + Past Tense Verb, would/might/could + V.1 เช่น If I knew her name, I would tell you.ถ้าฉันรู้ชื่อเธอฉันก็น่าจะบอกคุณ She would be safer if she had a car.เธอน่าจะปลอดภัยกว่านี้ ถ้าเธอมีรถ(จริงๆแล้วเธอไม่มีรถ) If I were you, I will call her.ถ้าฉันเป็นคุณ ฉันน่าจะโทรหาเธอ(จริงๆแล้วฉันไม่ได้เป็นคุณ) ในกรณีที่2นี้หากเราใช้ Verb to be เราต้องใช้were กับประธานทุกตัว ในกรณีที่เป็นVerb ของif-clause
            สำหรับประเภทสุดท้ายคือการสมมุติเหตุการณ์ในอดีต แสดงเงื่อนไขที่ไม่สามารถเป็นไปได้เลย และตรงกันข้ามกับความเป็นจริงในอดีต หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าPast Unreal มีโครงสร้างประโยคดังนี้ If + Past Perfect Tense Verb, would have + V-ed เช่น If you had gone to party last night, you would have seen your girlfriend.ถ้าเธอไปงานเลี้ยงเมื่อคืน เธอจะเห็นแฟนของเธอ(ความจริงคือเขาไม่ได้ไปงานเลี้ยงเมื่อคืน) If you had warned me, I would not have told your girlfriend about the party last night.ถ้าเธอเตือนฉันนะ ฉันคงไม่บอกแฟนเธอเกี่ยวกับงานเลี้ยงเมื่อคืน(ความจริงคือเธอไม่ได้เตือนฉัน และฉันก็บอกแฟนเธอไปแล้ว)
            หลังจากที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับ if-clauseแล้วนั้น จะทำให้เห็นถึงความสำคัญของ if-clause เพราะเรามักจะใช้ประโยค if-clauseในชีวิตประจำวัน และการที่เรามีความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง if-clause จะทำให้เราสร้างประโยคได้ง่ายยิ่งขึ้น ประโยคที่เราสร้างมานั้นจะมีความถูกต้องและสละสลวย สำหรับการนำไปใช้ if-clauseนั้นก็มีเงื่อนไขและรูปแบบที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับเราว่าต้องการสร้างประโยคเงื่อนไขที่อยู่ในรูปแบบใด ซึ่งแต่ละรูปแบบนั้นได้มีการระบุถึงเงื่อนไขที่แตกต่างกันไว้อย่างชัดเจน การสร้างประโยคเงื่อนไขนั้นไม่ได้มีความสลับซับซ้อนแต่อย่างใดหากเราฝึกใช้บ่อยๆ โดยอาจจะฝึกพูด อ่าน หรือเขียนบ่อยๆ ก็จะช่วยทำให้เรามีความชำนาญ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ if-clauseมากยิ่งขึ้น







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น