วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning log 4 (ในห้องเรียน)

Learning log 4
(ในห้องเรียน)
            มนุษย์ทุกคนเป็นสัตว์สังคมย่อมมีการสื่อสารกันตลอดเวลา การที่จะสื่อสารกันให้เข้าใจกันทั้งสองนั้นแต่ละฝ่ายทั้งผู้ฟังและผู้พูดต้องใช้ประโยคให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้หากเราใช้ประโยคอย่างไม่สมบูรณ์ก็จะทำให้อีกฝ่ายไม่เข้าในสารที่เราส่งไป ประโยคที่ใช้ในการสื่อสารจะเป็นประโยคในภาษาใดก็ได้ แต่จะต้องนำมาใช้ให้ถูกต้องเสมอ เราจึงควรศึกษาส่วนประกอบของประโยค เพื่อที่จะสามารถนำมาใช้ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะประโยคในภาษาอังกฤษ โชคดีที่ประโยคภาษาไทยและประโยคภาษาอังกฤษนั้นมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก ทั้งรูปแบบโครงสร้างประโยค การเรียงประโยค จึงอาจจะทำให้คนที่เข้าใจภาษาไทยสามารถเรียนรู้และเข้าใจภาษาอังกฤษได้อย่างรวดเร็ว
            ประโยคคือกลุ่มคำที่ประกอบไปด้วยภาคประธาน(subject) และภาคแสดง (predicate) สำหรับภาคประธานนั้นมีได้หลายรูปแบบ เช่นเป็นคำนาม เป็นคำสรรพนาม เป็นอนุประโยค เป็นgerund เป็นgerund phrase เป็นinfinitive และเป็นinfinitive phrase ภาคประธานเป็นภาคที่บอกว่าใครเป็นผู้กระทำในประโยคนั้น ส่วนภาคแสดงจะเป็นภาคที่แสดงให้เห็นว่าได้กระทำอะไรในประโยคนั้นๆ ภาคแสดงจะต้องประกอบไปด้วยคำกริยา และสำหรับกริยาที่ต้องการกรรมนั้นก็ต้องมีกรรมปรากฏในประโยคเหล่านั้นด้วย ประโยคแบ่งออกเป็น4ประเภท ประเภทแรกคือประโยคความเดี่ยว (Simple sentence) ต่อมาคือประโยคความรวม(Compound sentence) จากนั้นจะเป็นประโยคความซ้อน(Complex sentence) และสุดท้ายคือประโยคความผสม(Compound-Complex sentence) ซึ่งประโยคแต่ละชนิดนั้นย่อมมีความแตกต่างกัน ดังนั้นเราจะต้องศึกษาเพื่อจะนำมาใช้ได้อย่างถูกต้อง
           
            ประโยคแรกที่จะศึกษาคือ ประโยคความเดี่ยว (Simple sentence) คือ ประโยคที่มีประธานตัวเดียวและมีกริยาแท้(Finite Verb)ตัวเดียว Simple sentence ยังแบ่งออกเป็น5รูปแบบคือ ประโยคบอกเล่า(Affirmative Sentence)  เช่น I live in Bangkok.ฉันอาศัยในกรุงเทพฯ ต่อมาคือ(Negative Sentence) เช่น I do not like Thai food. ต่อด้วยประโยคคำถาม(Interrogative Sentence) เช่น Do you understand me? จากนั้นเป็นประโยคคำสั่ง ขอร้อง หรือเชื้อเชิญ (Command, Request, Invitation) โดยทั่วไปประโยคกลุ่มนี้จะละประธานไว้ในฐานที่เข้าใจ เพราะตัวประธานที่ละไว้คือyouนั่นเอง เช่น Open the door.(คำสั่ง) Please help me with my work.กรุณาช่วยงานฉันหน่อย(ขอร้อง) กรณีของประโยคขอร้องและเชื้อเชิญ ยังมีโครงสร้างอีกรูปแบบหนึ่งคือ เป็นประโยคคำถาม เช่น Will you lend me your pencil, Please?คุณจะกรุณาให้ยืมดินสอของคุณหน่อยได้ไหม (ประโยคขอร้อง) และสุดท้ายจะเป็นประโยคอุทาน(Exclamatory Sentence) เช่น How beautiful she is! There she is! เป็นต้น
            ประโยคต่อคือประโยคความรวมหรืออเนกัตถประโยค (Compound sentence) เป็นประโยคที่ประกอบด้วย Simple sentence 2 ประโยคมารวมกันโดยใช้ตัวเชื่อม เช่น Weerayut is lazy.กับWirayut is diligent. พอนำมาทำเป็นประโยคความรวมจะได้ดังนี้ Weerayut is lazy, but Wirayut is diligent. ซึ่งประโยคความรวมนั้นจะมีการใช้ตัวเชื่อม 3 รูปแบบด้วยกัน รูปแบบแรกเป็นการใช้ Co-ordinate conjunction ซึ่งมีทั้งหมด7ตัวคือ and, or, nor, but, so, for, yet ต่อไปจะเป็นการใช้ Correlative conjunction คือตัวเชื่อมที่เป็นคู่ ได้แก่ Either…or, Neither…nor, Not only…but also, Both…and และสุดท้ายจะเป็นการใช้ Conjunction adverb ได้แก่ moreover, besides, further more , otherwise, however, still, nevertheless, thus, therefore, consequently, hence, accordingly
                ประโยคถัดมาคือประโยคความซ้อน(Complex sentence) คือประโยคใหญ่ที่ประกอบขึ้นมาจากประโยคเล็ก2ประโยค ซึ่งเป็น2ประโยคที่มีความสำคัญไม่เท่ากันนั่นคือประโยคหนึ่งเรียกว่า main clause จะอ่านได้เนื้อความสมบูรณ์ หากแยกกันอ่านทีละประโยค ประโยค main clauseจะอ่านได้เนื้อความสมบูรณ์ในตัวของมันเอง ส่วนประโยค Subordinate clause จะอ่านไม่ได้ความหมาย ส่วนการรวมประโยคระหว่าง main clause และ Subordinate clause เข้าด้วยกันนั้นอาจใช้ตัวเชื่อมดังนี้ 1.ใช้คำเชื่อมหรือคำเชื่อมแฝง Subordinate conjunction เช่น If, because, that, unless เป็นต้น ตัวอย่างประโยค He said that he would come back soon. ต่อมาจะใช้กับคำประพันธ์สรรพนาม(Relative Pronoun) เป็นคำเชื่อม เช่น who, whose, that, what, but เป็นต้น ตัวอย่างประโยค The man who came here this morning is my uncle. และสุดท้ายจะใช้สัมพันธ์วิเศษณ์(Relative Adverb)เป็นคำเชื่อม เช่น when, whenever, where, why, wherever, how ตัวอย่างประโยค I don’t know when she arrives here.
                ประโยคสุดท้ายที่ต้องศึกษาคือ ประโยคเนกัตถสังกรประโยค (Compound-Complex Sentence) คือประโยคใหญ่ตั้งแต่2ประโยคขึ้นไปมารวมกันอยู่โดยที่ประโยคส่วนใหญ่ท่อนหนึ่งนั้นจะมีประโยคเล็กซ้อนอยู่ภายใน หรือจะกล่าวง่ายๆคือเป็นประโยคที่ประกอบขึ้นระหว่าง Compound  Sentence กับประโยค Complex Sentence ดังนั้น Compound-Complex Sentenceจึงประกอบด้วยประโยคหลักตั้งแต่2ประโยคขึ้นไปและประโยครองอย่างน้อย1ประโยค เช่น While Somsak played the guitar, the boys sang and the girls danced.ขณะที่สมศักษดิ์เล่นกีต้าร์ เด็กผู้ชายก็ได้ร้องเพลงและเด็กผู้หญิงก็ได้เต้นรำ ซึ่งจากประโยคนี้สามารถอธิบายได้ว่า the boys sang and the girls danced นั้นเป็นประโยคหลัก ส่วน While Somsak played the guitar เป็นประโยครอง
            หลังจากที่ได้ศึกษาชนิดของแต่ละประโยค เราต้องศึกษาเกี่ยวกับAdjective Clause ซึ่ง Adjective Clause นั้นจะทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ที่ขยายคำนาม หรือขยายคำเสมอนามได้เช่นเดียวกับ Adjective ธรรมดา แต่การขยายด้วย Adjective Clauseจะทำให้ข้อความหนักแน่น และเด่นขึ้นกว่าการขยายด้วย Adjective ธรรมดา ลักษณะของประโยคAdjective Clause จะนำหน้าด้วยคำเชื่อมสัมพันธ์(Relative Words) ได้แก่ Relative Pronoun(who, whom, whose, which, that, of which, that as, but) และ Relative adverb (when, why, where) เช่น The man who came here this afternoon is my father. (who came here this afternoon เป็นAdjective Clause ขยาย The man) สำหรับประเภทของ Adjective Clause นั้นสามารถแบ่งออกเป็น3ประเภท ได้แก่ Restrictive Clause คือใช้แสดงคำนามที่มันขยาย ไม่ใช้เครื่องหมายใดๆคั่นระหว่างคำนามกับAdjective Clause เช่น I know a woman who works at Jones&Roe. ประเภทต่อมาคือ Non- Restrictive Clause เป็นการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำนาม และถูกแยกโดยใส่เครื่องหมายcomma(,) คั่นระหว่างคำนามกับ Adjective Clauseที่ตามมา เช่น I know Sudan, who works at Jones&Roe. สำหรับประเภทสุดท้ายคือ Sentential Relative Clause จะใช้ในการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทั้งข้อความ ไม่ใช่เฉพาะคำนามที่มาข้างหน้า และจะใช้which นำหน้าเท่านั้นโดยมีเครื่องหมายcomma คั่นจากประโยคหลักที่มาข้างหน้า เช่น Jane gave him a smile, which surprised him a great deal.
                เราสามารถทำ Adjective Clauseให้เป็น Adjective Phrase ได้ด้วยการลดรูป Adjective Clause สำหรับคำนำหน้า who, whichและthat ที่ทำหน้าที่เป็นประธานของAdjective Clause สามารถลดรูปเป็นกลุ่มคำต่างๆได้ โดยเมื่อลดรูปแล้วจะกลายเป็นกลุ่มคำนามดังนี้ 1.Appositive Noun Phrase 2.Prepositional Phrase 3.Infinitive Phrase 4.Participial Phrase ซึ่งการทำ Adjective Clause ให้เป็น Appositive Noun Phrase นั้นจะทำได้เมื่อหลัง Adjective Clauseซึ่งมี who, whichและthat มี BE ให้ตัด BE ออกเช่น Prof.Chacarin, my thesis advisor, will retire next year. ต่อไปคือPrepositional Phrase เมื่อ Adjective Clause ที่มี who, whichและthat เป็นประธาน สามารถลดรูปได้หลัง who, whichและthat มีคำกริยาและบุพบท ที่ถ้าตัดคำกริยาแล้วเหลือแต่บุพบท ยังมีความหมายเหมือนเดิม ให้ตัดคำกริยาออกได้ เช่น The lady in the national costume is a beauty queen.ต่อไปคือ Infinitive Phrase สามารถลดรูปได้หากข้างหลังAdjective Clauseที่มี who, whichและthat มีคำกริยาในรูป BE + infinitive with to เช่น He is the first person who is to be blamed for the violence yesterday. กลายเป็น He is the first person to be blamed for the violence yesterday. และสุดท้าย Participial Phrase จะแบ่งออกเป็น2ประเภทคือ Present Participial Phrase และ Past Participial Phrase โดย Present Participial Phrase ซึ่งมี who เป็นประธาน สามารถลดรูปได้หากหลัง who มีกริยาแท้ ลดรูปโดยตัด who และเปลี่ยนกริยาหลัง who เป็น present participle (v.ing) เช่น The school students who visited the national museum were very excited. กลายเป็น The school students visiting the national museum were very excited. ส่วน Past Participial Phrase นั้นมาจากการลดรูปของ which และ who มีกริยาในรูป passive form(BE + past participial) ลดรูปโดยตัด which หรือ who และ BEออก เหลือ past participial เช่น The money which was lost during the trip was returned to its owner. กลายเป็น The money was lost during the trip was returned to its owner.
            จากการที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับประโยค ชนิดของประโยคAdjective Clause และการลดรูปของAdjective Clause แล้วนั้นทำให้เห็นถึงความสำคัญของสิ่งเหล่านี้ เนื่องจากมันเป็นประโยคที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้เพื่อการศึกษาเล่าเรียน ใช้เพื่อสื่อสารกับผู้อื่น ทุกหัวข้อที่ได้ทำการศึกษามานั้นล้วนแล้วแต่เชื่อมโยงกันและมีความสำคัญเท่าๆกัน หากเราสามารถนำประโยคเหล่านี้ไปใช้ได้จริงแล้วนั้น จะทำให้เราสามารถที่จะสนทนากับใครก็ได้ สนทนาได้ทุกที่ นอกจากการสนทนาแล้วนั้นจะทำให้เราสามารถเขียนประโยคให้มีใจความสมบูรณ์ได้อีกด้วย เราจะสามารถใช้ประโยคได้ดีหากเรามีการฝึกใช้บ่อยๆ จะทำให้เราเห็นถึงพัฒนาการทางด้านภาษาของเราได้อีกด้วย เพราะเมื่อเราฝึกใช้บ่อยๆทำให้เราคุ้นเคยกับประโยค และสามารถคิดคำศัพท์หรือคิดประโยคที่เราต้องการพูดหรือเขียนได้อย่างสละสลวย

                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น