วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
ความสำคัญของการแปล
            ในปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง ซึ่งประเทศไทยได้มีการติดต่อกับต่างประเทศในวงการต่างๆมากขึ้น และเนื่องจากเหตุนี้ทำให้การแปลมีความสำคัญมากขึ้นเพราะผู้ที่ทำการติดต่อนั้น บางคนอาจจะรู้ภาษาต่างประเทศไม่ดีพอ จึงจำเป็นต้องอาศัยผู้แปล เพื่อประหยัดเวลาและเพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ
            ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้มากที่สุดในหน่วยงานต่างๆ เกิดจากสาเหตุหลายอย่าง เช่น หน่วยงานต่างๆได้ขยายปริมาณ มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศเพิ่มขึ้น มีตำรา เอกสารอังกฤษซึ่งเป็นแหล่งวิทยาการหลายสาขา เป็นต้น งานแปลเป็นงานที่ต้องศึกษาวิเคราะห์ พิจารณากลั่นกรอง เป็นงานที่ละเอียดอ่อน

การแปลในประเทศไทย
            เริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสั่งโกสาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยส์แห่งประเทศฝรั่งเศส จึงมีการฝึกนักแปลประจำราชสำนัก มีการแปลเอกสารต่างๆในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
            การแปลจะช่วยให้ลดความไม่เข้าใจทางด้านวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน และสร้างความเข้าใจระหว่างนานาชาติ ทำให้เกิดสันติภาพในโลก นอกจากนี้การแปลยังสำคัญต่อการท่องเที่ยวอีกด้วย เนื่องจากปัจจุบันมีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น จึงต้องมีการแปลเรื่องราวของประเทศไทยเป็นภาษาอังกฤษสำหรับด้านวิชาการต่างๆนั้น ได้มีแปลตำราศาสตร์ต่างๆเป็นภาษาไทยเพื่อใช้ในการศึกษาหาความรู้หรือเดินทางไปต่างประเทศของคนในชาติ
            การแปลเป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง ใช้ในการพัฒนาทั้งทางวรรณคดี วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้การแปลต้องคำนึงถึงประโยชน์การใช้ให้คุ้มกับเวลาที่จะใช้ในการแปลด้วย คือต้องเหมาะสมกับการลงทุน
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
            เป็นการสอนไวยากรณ์ และโครงสร้างของภาษา การใช้ภาษา รวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ
การแปลคืออะไร
การแปลคืออะไร
            การแปลคือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง โดยให้มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามทุกฉบับทุกประการ การแปลเป็นสิ่งที่ฝึกฝนได้ในขอบเขตของความรู้ทางด้านภาษา แต่ในส่วนที่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่จะประดิษฐ์งานแปลให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้นไปนั้น ถือเป็นงานศิลป์
คุณสมบัติของผู้แปล
1.เป็นผู้รู้ภาษาอย่างดีเลิศ
2.สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้เข้าใจ
3.เป็นผู้มีศิลปะในการใช้ภาษา มีความเข้าใจและซาบซึ้งในความสวยงามของภาษา
4.เป็นผู้เรียนวิชาภาษาและวรรณคดี หรือภาษาศาสตร์
5.เป็นผู้รอบรู้ รักเรียน รักอ่าน และรักการค้นคว้าวิจัย
6.ต้องมีความอดทนและเสียสละ
จุดมุ่งหมายของผู้สอนแปล
            ฝึกและผลิตนักแปลที่มีคุณภาพแก่สังคม
วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
            1.การฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมในด้านต่างๆ
            2.ผู้สอนแปลต้องหาทางเร่งเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวาง
            3.ให้ผู้เรียนแปลได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักแปลอาชีพหรือผู้ใช้บริการการแปล
บทบาทของการแปล
            การแปลถือเป็นทักษะพิเศษในการสื่อสาร คือ ผู้รับสารไม่ได้รับสารจากผู้ส่งสารคนแรกโดยตรง แต่รับสารจากผู้แปลอีกทอดหนึ่ง
            การแปลถือเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ซึ่งในการส่งสารแบบนี้จะต้องประสบกับความแตกต่างทั้งในด้านการใช้ภาษา ความรู้ อาชีพ สังคม วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียม ประเพณี

ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
            1.ภาษไทยที่ใช้ในงานแปลนั้นมีลักษณะเป็นธรรมชาติ ไม่ติดสำนวนฝรั่ง ปรับให้เป็นสำนวนไทยที่ใช้กันโดยทั่วไป ใช้ศัพท์เฉพาะสาขา และศัพท์เทคนิคได้ครอบคลุมความหมายทั้งหมด
            2.สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับคำที่แปลภาษาไทยได้
            3.ใช้การแปลแบบตีความ
ลักษณะของงานแปลที่ดี
            งานแปลที่ดีต้องมีคุณสมบัติสองประการนี้ คือความถูกต้องตรงกันในเรื่องความหมาย และภาษาที่สละสลวย ผู้แปลจึงต้องมีความรู้อย่างดีทั้งในภาษาต้นฉบับและภาษาที่ใช้แปล
การให้ความหมายในการแปลมี 2 ประการ
            1.การแปลที่ใช้รูปประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน
            2.การตีความหมายจากบริบทของข้อความต่างๆ
การแปลกับการตีความจากบริบท
            คือการแปลความที่สังเกตจากสถานภาพที่เป็นอยู่ของข้อความ ไม่ใช่แปลให้ความหมายเดียวกันในรูปประโยคต่างกัน (paraphrasing) แต่ให้แปลจากความใกล้เคียง และความคิดรวบยอด
สิ่งที่ต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์ความหมาย
            1.องค์ประกอบของความหมายมีดังนี้ คำศัพท์ ไวยากรณ์ และเสียง
            2.ความหมายและรูปแบบ
                        -ในแต่ละภาษา ความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ
                        -รูปแบบเดียวอาจจะมีหลายความหมาย
            3.ประเภทของความหมาย
                        -ความหมายอ้างอิง เป็นความหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
                        -ความหมายแปล คือความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน ผู้ฟัง
                        -ความหมายทางบริบท รูปแบบหนึ่งๆอาจมีหลายความหมาย จึงต้องพิจารณาจากบริบทว่าผู้เขียนต้องการจะสื่ออะไร
                        -ความหมายเชิงอุปมา เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบทั้งการเปรียบเทียบโดยตรงและโดยนัย
การเลือกบทแปล
            เลือกตามวัตถุประสงค์ของการแปล โดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆของตนในการแปล และให้ผู้เรียนได้ความรู้ทั้งด้านทักษะภาษาและเนื้อหา
เรื่องที่จะแปล

            เนื่องจากเรื่องที่จะแปลมีหลาย สาขา จึงต้องเลือกว่าจะแปลสาขาใดเพื่อจะทำให้คนมีความรู้ทันสมัย ด้วยเหตุนี้จึงควรมีคณะกรรมการแปลระดับชาติ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละสาขาวิชาใหญ่ๆเป็นแกน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น