วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างของโครงสร้าง

ความแตกต่างของโครงสร้าง
ของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
            โครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือใช้ภาษา เราพูดประโยคที่มีใจความสมบูรณ์และสื่อสารกันรู้เรื่องเพราะเรารู้หรือเข้าใจโครงสร้างของภาษา  ถ้าเราไม่รู้หรือเข้าใจโครงสร้างของภาษานั้น เราจะล้มเหลวในการสื่อสาร

            ในการแปล ผู้แปลมักค้นหาคำศัพท์ในภาษาอังกฤษที่เทียบเท่ากับภาษาไทย อันที่จริงนั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ปัญหาที่สำคัญและลึกซึ้งกว่านั้นคือ ปัญหาทางโครงสร้าง
1.ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
            ชนิดของคำ(part of speech) เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง นำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสารประโยคถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดของคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์
            การคำนึงถึงชนิดของคำเท่านั้นยังไม่พอ ต้องคิดด้วยว่าเวลานำคำไปใช้จริง คำชนิดนั้นเกี่ยวพันกับประเภททางไวยากรณ์อะไรบ้างในภาษานั้นๆ
            ประเภททางไวยากรณ์ (grammatical category) ประเภททางไวยากรณ์บางประเภทเป็นสิ่งสำคัญในภาษาหนึ่ง แต่อาจไม่สำคัญเลยในอีกภาษาหนึ่งก็ได้
            1.1 คำนาม
                        1.1.1บุรุษ (person) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือสรรพนามที่ นำมาใช้ในประโยคหมายถึงผู้พูด (บุรุษที่1) ผู้ที่ถูกพูดด้วย (บุรุษที่2) หรือผู้ที่ถูกพูดถึง (บุรุษที่3) นอกจากนั้นภาษาอังกฤษยังมีการเติม-s ที่กริยาประธานที่บุรุษที่ 3 เอกพจน์ แต่ในบุรุษอื่นไม่มีการเติม สำหรับภาษาไทยไม่มีการแสดงความต่างเช่นนี้
                        1.1.2พจน์ (number) ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้พจน์โดยใช้ ตัวกำหนด (determiner) ที่ต่างกัน เช่นใช้ a/an นำหน้าเอกพจน์เท่านั้น และแสดงพหูพจน์โดยการเติมหน่วยท้ายเสียง –s แต่ในภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้เช่นนี้
                        1.1.3 การก (case) คือประเภทของไวยากรณ์ของคำนามเพื่อบ่งชี้ว่าคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไร คือสัมพันธ์กับคำอื่นในประโยคอะไร  ในภาษาอังกฤษการกของคำนามมักแสดงโดยการเรียงคำ เช่นถ้าพูดว่า The dog bit the boy. จะต่างกับพูดว่า The boy bit the dog. ในประโยคแรก dog เป็นผู้กระทำ ส่วนในประโยคหลังเป็นผู้ถูกกระทำ สำหรับการกเจ้าของในภาษาอังกฤษโดยการเติม ‘s
                        1.1.4 นามนับได้กับนามนับไม่ได้ (countable and uncountable nouns) คำนามในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยในเรื่องการแบ่งปัน นามนับได้ และนับไม่ได้
            ในภาษาไทย คำนามทุกคำนับได้ เพราะเรามีลักษณนามบอกจำนวนของทุกสิ่งได้ และเราสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมได้ เช่น แมว 1 ตัว แมว7ตัว
                        1.1.5ความชี้เฉพาะ (definiteness) มีความสำคัญในภาษาอังกฤษ แต่ไม่สำคัญในภาษาไทย
            1.2 คำกริยา คำกริยานับได้ว่าเป็นหัวใจของประโยค เพราะมีประเภททางไวยากรณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องหลายประเภท เช่น กาล (tense) การณ์ลักษณะ (aspect) มาลา (mood) วาจก (voice)
                        1.2.1 กาล
                        1.2.2 การณ์ลักษณะ หมายถึงลักษณะของการกระทำ หรือเหตุการณ์
            โดยเหตุที่ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างเด่นชัดในแล่ที่ภาษาอังกฤษถือว่าเรื่องเวลาของเหตุการณ์เป็นสิ่งสำคัญมาก ในภาษาไทย การกล่าวหรือเล่าเรื่องใดก็ตาม เวลาเป็นเรื่องลอยตัว ไม่ต้องระบุให้ชัดแจ้ง
                        1.1.3 มาลา เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไร ในภาษาคำกริยาไม่มีการแสดงมาลา
            มาลาในภาษาอังกฤษแสดงโดยการเปลี่ยนรูปคำกริยา หรืออาจแสดงโดยคำช่วยกริยาที่เรียกว่า modal auxiliaries
            ปัญหาที่เกี่ยวกับมาลาในการแปลภาษาอังกฤษเป็นไทยอาจพบน้อยกว่าแปลไทยเป็นอังกฤษ
                        1.1.4วาจก (voice) ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยคำกริยา ว่าประธานเป็นผู้กระทำ (กรรตุวาจก) หรือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ (กรรมวาจก)
            ในภาษาไทย คำกริยาไม่มีการเปลี่ยนรูปในตัวของมันเองเพื่อแสดงกรรตุวาจกหรือกรรมวาจก
                        1.2.5 กริยาแท้กับกริยาไม่แท้ (finite vs. non-finite) ภาษาอังกฤษมีกริยาแท้ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น

2.หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
            หน่วยสร้าง หมายถึงหน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง
            2.1 หน่วยสร้างนามวลี : ตัวกำหนด (Determiner) + นาม (อังกฤษ) vs. นาม (ไทย)
            2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive constructions) ในภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปแบบเด่นชัด และมีแบบเดียว คือ ประธาน/ผู้รับ การกระทำ+กริยา—verb to be + past participle + (by + นามวลี/ผู้กระทำ)
            2.4 หน่วยสร้างประโยคเน้น subject กับประโยคเน้น topic
            ภาษาไทยได้ชื่อว่าเป็นภาษาเน้น ตรงกันข้ามกับภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาเน้น
            2.5 หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย
            หน่วยสร้างในภาษาไทยที่ไม่มีในภาษาอังกฤษและมักเป็นปัญหาในการแปลได้แก่ หน่วยสร้างกริยาเรียง ประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้นไปโดยไม่มีอะไรคั่นกลางยกเว้นกรรม เช่น เดิน-ไป-ดูหนัง ต้องการ- สมัคร-เข้า-ร่วม-ฟังการบรรยาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น